ระนอง เป็นจังหวัดชายฝั่งทะเลตะวันตกของภาคใต้ มีพื้นที่ประมาณ 2,141,250 ไร่ มีพื้นที่ติดต่อทางตะวันออกติดต่อกับจังหวัดชุมพร ทางใต้ติดกับจังหวัดสุราษฎร์ธานีและจังหวัดพังงา ทางตะวันตกติดกับประเทศพม่าและทะเลอันดามัน มีลักษณะพื้นที่เรียวและแคบ มีความยาวถึง 169 กิโลเมตร และมีความแคบในบริเวณอำเภอกระบุรี เพียง 9 กิโลเมตร
ระนองเป็นอีกจังหวัดหนึ่งที่มีประวัติความเป็นมายาวนานนับตั้งแต่ครั้งกรุงศรีอยุธยาเรืองอำนาจ เดิมเป็นหัวเมืองขนาดเล็กขึ้นกับเมืองชุมพร คำว่าระนองเพี้ยนมาจากคำว่า แร่นอง เนื่องจากในพื้นที่จังหวัดมีแร่อยู่มากมาย
- คำขวัญประจำจังหวัด : คอคอดกระ ภูเขาหญ้า กาหยูหวาน ธารน้ำแร่ มุกแท้เมืองระนอง (“กาหยู” แปลว่ามะม่วงหิมพานต์)
- พันธุ์ไม้มงคลพระราชทานประจำจังหวัด : ต้นอบเชย (Cinnamomum bejolghota)
- ต้นไม้ประจำจังหวัด : ต้นอินทนิล (Lagerstroemia spesiosa)
- ดอกไม้ประจำจังหวัด : ดอกเอื้องเงินหลวงหรือโกมาซุม (Dendrobium formosum)
- สัตว์น้ำประจำจังหวัด : ปูเจ้าฟ้าหรือปูน้ำตก (Phricotelphusa sirindhorn)
จดทะเบียนเลิกบริษัท By ชลธี
รับจดทะเบียนเลิกบริษัท และชำระบัญชีบริษัท
ให้คำแนะนำ จดปิดบริษัท เบื้องต้น และประเมินค่าใช้จ่ายฟรี !
ประวัติศาสตร์
สภาพภูมิประเทศของระนอง ประกอบด้วยภูเขาสูงในทางทิศตะวันออก และลาดลงสู่ทะเลอันดามันในทางทิศตะวันตก มีแม่น้ำและคลองสำคัญหลายสาย และมีภูเขาสูงสุดคือ ภูเขาพ่อตาโชงโดง
แม่น้ำลำคลองที่สำคัญมีดังนี้
แม่น้ำกระบุรี เป็นแม่น้ำที่กั้นพรมแดนไทย-พม่า มีความยาวประมาณ 95 กิโลเมตร
คลองลำเลียง มีความยาวประมาณ 20 กิโลเมตร
คลองปากจั่น ไหลลงสู่แม่น้ำกระบุรี มีความยาวประมาณ 30 กิโลเมตร
คลองวัน ไหลลงสู่แม่น้ำกระบุรี มีความยาวประมาณ 20 กิโลเมตร
คลองกระบุรี มีความยาวประมาณ 20 กิโลเมตร
คลองละอุ่น ไหลลงสู่แม่น้ำกระบุรี มีความยาวประมาณ 35 กิโลเมตร
คลองหาดส้มแป้น มีความยาวประมาณ 19 กิโลเมตร
คลองกะเปอร์ มีความยาวประมาณ 32 กิโลเมตร
คลองกำพวน มีความยาวประมาณ 19 กิโลเมตร
ภูมิอากาศ
จังหวัดระนองได้ชื่อว่าเป็นเมือง “ฝนแปด แดดสี่” นั่นคือมีฝนตก 8 เดือน และฝนแล้งเพียง 4 เดือน นับว่าเป็นจังหวัดที่ฝนตกชุกมากที่สุดในประเทศไทย เนื่องจากอยู่ติดกับทะเลอันดามัน ได้รับอิทธิพลจากลมมรสุมตะวันตกเฉียงใต้อย่างมาก
การปกครองแบ่งออกเป็น 5 อำเภอ 30 ตำบล 167 หมู่บ้าน
อำเภอเมืองระนอง
อำเภอละอุ่น
อำเภอกะเปอร์
อำเภอกระบุรี
อำเภอสุขสำราญ
ใส่ความเห็น