เขตทุ่งครุ เป็น 1 ใน 50 เขตการปกครองของกรุงเทพมหานคร
จัดอยู่ในกลุ่มเขตกรุงธนใต้ สภาพทั่วไปเป็นแหล่งที่อยู่อาศัยหนาแน่นน้อยและหนาแน่นปานกลาง โดยมีพื้นที่ทำการเกษตรเป็นหลักทางทิศตะวันตกเฉียงใต้
จดทะเบียนเลิกบริษัท By ชลธี
รับจดทะเบียนเลิกบริษัท และชำระบัญชีบริษัท
ให้คำแนะนำ จดปิดบริษัท เบื้องต้น และประเมินค่าใช้จ่ายฟรี !
ประวัติศาสตร์
เดิมทุ่งครุมีฐานะเป็น ตำบลทุ่งครุ ขึ้นอยู่กับอำเภอราษฎร์บูรณะ จังหวัดธนบุรี ต่อมาอำเภอราษฎร์บูรณะได้ถูกโอนไปขึ้นกับจังหวัดพระประแดงอยู่ช่วงหนึ่ง จนกระทั่งจังหวัดนี้ถูกยุบลงเป็นอำเภอในจังหวัดสมุทรปราการ อำเภอราษฎร์บูรณะรวมทั้งตำบลทุ่งครุจึงกลับมาอยู่ในการปกครองของจังหวัดธนบุรีอีกครั้ง และภายหลังได้มีการยุบรวมจังหวัดธนบุรีและจังหวัดพระนคร เปลี่ยนฐานะเป็นนครหลวงกรุงเทพธนบุรีและกรุงเทพมหานคร ซึ่งได้เปลี่ยนการเรียกชื่อตำบลและอำเภอใหม่ด้วย ตำบลทุ่งครุจึงได้รับการเปลี่ยนแปลงฐานะเป็น แขวงทุ่งครุ ขึ้นกับสำนักงานเขตราษฎร์บูรณะ จนกระทั่งวันที่ 18 พฤศจิกายน พ.ศ. 2540 ได้มีประกาศกระทรวงมหาดไทยจัดตั้ง เขตทุ่งครุ ขึ้น โดยแบ่งพื้นที่ทางทิศใต้ของเขตราษฎร์บูรณะออกมา 2 แขวง
ที่ตั้งและอาณาเขต
ตั้งอยู่ทางทิศตะวันออกเฉียงใต้ของฝั่งธนบุรี มีอาณาเขตติดต่อกับพื้นที่การปกครองต่าง ๆ เรียงตามเข็มนาฬิกาดังนี้
ทิศเหนือ ติดต่อกับเขตจอมทองและเขตราษฎร์บูรณะ มีลำรางสาธารณะ คลองกอไผ่ขวด ลำรางสาธารณะ คลองตาเทียบ คลองราษฎร์บูรณะ คลองข้างโรงเรียนขจรโรจน์ ลำรางสาธารณะ คลองแจงร้อน และลำรางสาธารณะเป็นเส้นแบ่งเขต
ทิศตะวันออก ติดต่อกับอำเภอพระประแดง (จังหวัดสมุทรปราการ) มีคลองบางพึ่ง ลำรางสาธารณะ คลองขุดเจ้าเมือง และคลองรางใหญ่เป็นเส้นแบ่งเขต
ทิศใต้ ติดต่อกับอำเภอพระสมุทรเจดีย์ (จังหวัดสมุทรปราการ) มีคลองบางจาก คลองกะออมใน คลองท่าเกวียน คลองตาสน และคลองกะออมเป็นเส้นแบ่งเขต
ทิศตะวันตก ติดต่อกับเขตบางขุนเทียน มีคลองรางแม่น้ำและคลองบางมดเป็นเส้นแบ่งเขต
ที่มาของชื่อเขต
ความหมายของคำว่า ” ทุ่งครุ ” ตามพจนานุกรม ฉบับเฉลิมพระเกียรติ พ.ศ. 2530 มิได้ให้ คำจำกัดความของคำว่า ” ทุ่งครุ ” ไว้เป็นการเฉพาะ แต่ได้ให้คำจำกัดความของคำว่า ” ทุ่ง ” กับ ” ครุ ” ไว้ว่า ” ทุ่ง ” หมายถึง ที่ราบโล่ง ” ครุ ” หมายถึง ภาชนะสานชนิดหนึ่งใช้ตักน้ำรูปกลมๆ ยาชัน เมื่อนำความหมายของคำจำกัดความทั้งสองมารวมกัน น่าจะหมายถึง ” พื้นที่ราบโล่ง ใช้สาน ภาชนะตักน้ำรูปกลมๆ ยาชัน ” จากความหมายดังกล่าวแสดงให้เห็นว่าในอดีตท้องที่เขตทุ่งครุ เป็นที่ราบโล่ง ลุ่ม มีแหล่งน้ำหลายแห่งเหมาะแก่การเพาะปลูก ประชาชนประกอบอาชีพเกษตรกร ทำสวนและมีฝีมือทางการจักสาน
ใส่ความเห็น